คนรุมวิจารณ์หลากหลาย หลัง ศบค. ประกาศยกระดับ ทุกคนต้องมีแอปฯ หมอชนะอยู่ในมือ ถ้าไม่มีคุก 2 ปี ปรับ 40,000 งง…แล้วคนใช้มือถือปุ่มกด ทำยังไงล่ะ
วันที่ 7 มกราคม 2564 นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) ได้กล่าวในช่วงหนึ่งของแถลงการณ์ประจำวัน ว่า เนื่องจากสถานการณ์ที่มีความรุนแรงในขณะนี้ ดังนั้น ทาง ศบค. จึงจำเป็นต้องมีมาตรการที่เข้มขึ้นอีกขั้น เพื่อใช้ในการป้องกันโรค นั่นก็คือ เน้นย้ำให้มีการใช้แอปพลิเคชัน หมอชนะ ควบคู่กับ ไทยชนะ หากติดโควิด 19 แล้วไม่มีหมอชนะ จะถือว่าละเมิดข้อกฎหมายตามข้อกำหนด พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ
ทั้งนี้ ในข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 17) มีข้อกำหนดใหญ่ ๆ 3 ข้อ คือ
1. การยกระดับการบังคับใช้มาตรการป้องกันโรค : แนะให้ประชาชนติดตั้งแอปพลิเคชันหมอชนะ ควบคู่กับ ไทยชนะ โดยเฉพาะคนที่อยู่ในพื้นที่ควบคุมสูงสุด หากไม่ติดตั้งจะถือว่าละเมิดกฎหมาย
2. ยกระดับพื้นที่ควบคุมสูงสุดที่จำเป็นต้องมีมาตรการเข้มงวดอย่างยิ่ง : ควบคุมพาหนะเข้า-ออกพื้นที่ 5 จังหวัด คือ จันทบุรี ชลบุรี ตราด ระยอง และสมุทรสาคร และตั้งจุดคัดกรอง
3. ปราบปรามลงโทษผู้กระทำผิดอันเป็นเหตุให้เกิดการระบาด : ปราบปรามผู้กระทำผิด ขนย้ายแรงงานเถื่อน เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม หลังจากที่มีการกล่าวแบบนี้ ได้เกิดกระแสดราม่าในโลกออนไลน์ หลายคนมองว่ามาตรการครั้งนี้ของรัฐรุนแรงมาก และยิ่งจะเป็นการผลักดันให้คนที่ไม่มีมือถือ ไม่มีแอปฯ ไม่มีเงิน แต่ติดโรค ไม่กล้าเข้าไปตรวจเพื่อหาเชื้อ
อีกอย่างคือ เจ้าหน้าที่ควรไปติดตามจับคนที่เป็นต้นเหตุของโรคระบาด หรือคนที่ปกปิดไทม์ไลน์ หรือเจ้าหน้าที่รัฐที่ย่อไทม์ไลน์คนอื่นจนเหลือบรรทัดเดียว ไม่ใช่มาตามเอาผิดคนธรรมดาที่รักษาเนื้อรักษาตัวและปฏิบัติตามกฎอย่างดี
นอกจากนี้ ยังเกิดคำถามว่า หากบังคับติดตั้งแอปพลิเคชันแบบนี้ แล้วคนที่ใช้มือถือปุ่มกด จะทำยังไง ?
คนรุมวิจารณ์หลากหลาย หลัง ศบค. ประกาศยกระดับ ทุกคนต้องมีแอปฯ หมอชนะอยู่ในมือ ถ้าไม่มีคุก 2 ปี ปรับ 40,000 งง…แล้วคนใช้มือถือปุ่มกด ทำยังไงล่ะ
ภาพจาก thaigov.go.th
วันที่ 7 มกราคม 2564 นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) ได้กล่าวในช่วงหนึ่งของแถลงการณ์ประจำวัน ว่า เนื่องจากสถานการณ์ที่มีความรุนแรงในขณะนี้ ดังนั้น ทาง ศบค. จึงจำเป็นต้องมีมาตรการที่เข้มขึ้นอีกขั้น เพื่อใช้ในการป้องกันโรค นั่นก็คือ เน้นย้ำให้มีการใช้แอปพลิเคชัน หมอชนะ ควบคู่กับ ไทยชนะ หากติดโควิด 19 แล้วไม่มีหมอชนะ จะถือว่าละเมิดข้อกฎหมายตามข้อกำหนด พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ
ทั้งนี้ ในข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 17) มีข้อกำหนดใหญ่ ๆ 3 ข้อ คือ
1. การยกระดับการบังคับใช้มาตรการป้องกันโรค : แนะให้ประชาชนติดตั้งแอปพลิเคชันหมอชนะ ควบคู่กับ ไทยชนะ โดยเฉพาะคนที่อยู่ในพื้นที่ควบคุมสูงสุด หากไม่ติดตั้งจะถือว่าละเมิดกฎหมาย
2. ยกระดับพื้นที่ควบคุมสูงสุดที่จำเป็นต้องมีมาตรการเข้มงวดอย่างยิ่ง : ควบคุมพาหนะเข้า-ออกพื้นที่ 5 จังหวัด คือ จันทบุรี ชลบุรี ตราด ระยอง และสมุทรสาคร และตั้งจุดคัดกรอง
3. ปราบปรามลงโทษผู้กระทำผิดอันเป็นเหตุให้เกิดการระบาด : ปราบปรามผู้กระทำผิด ขนย้ายแรงงานเถื่อน เป็นต้น
ภาพจาก ทวิตเตอร์ @lawcunotslave
อย่างไรก็ตาม หลังจากที่มีการกล่าวแบบนี้ ได้เกิดกระแสดราม่าในโลกออนไลน์ หลายคนมองว่ามาตรการครั้งนี้ของรัฐรุนแรงมาก และยิ่งจะเป็นการผลักดันให้คนที่ไม่มีมือถือ ไม่มีแอปฯ ไม่มีเงิน แต่ติดโรค ไม่กล้าเข้าไปตรวจเพื่อหาเชื้อ
อีกอย่างคือ เจ้าหน้าที่ควรไปติดตามจับคนที่เป็นต้นเหตุของโรคระบาด หรือคนที่ปกปิดไทม์ไลน์ หรือเจ้าหน้าที่รัฐที่ย่อไทม์ไลน์คนอื่นจนเหลือบรรทัดเดียว ไม่ใช่มาตามเอาผิดคนธรรมดาที่รักษาเนื้อรักษาตัวและปฏิบัติตามกฎอย่างดี
นอกจากนี้ ยังเกิดคำถามว่า หากบังคับติดตั้งแอปพลิเคชันแบบนี้ แล้วคนที่ใช้มือถือปุ่มกด จะทำยังไง ?
ภาพจาก เฟซบุ๊ก หมอชนะ