กรมอนามัย ห่วงกลุ่มเปราะบางเสี่ยงฝุ่นกระทบสุขภาพ แนะวิธีจัดบ้าน – สภาพแวดล้อม ป้องกัน PM2.5

กรมอนามัย ห่วงกลุ่มเปราะบางเสี่ยงฝุ่นกระทบสุขภาพ แนะวิธีจัดบ้าน – สภาพแวดล้อม ป้องกัน PM2.5
​กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ห่วงกลุ่มเปราะบางที่มีความเสี่ยงสูง ได้แก่ เด็กเล็ก หญิงตั้งครรภ์ ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ หอบหืด เยื่อบุตาอักเสบ หัวใจและหลอดเลือด อาจได้รับผลกระทบจากฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 พร้อมร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี แนะวิธีจัดบ้านและสภาพแวดล้อมที่ดี ช่วยป้องกันฝุ่น


​วันนี้ (18 มกราคม 2564) นายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยภายหลังการ แถลงข่าวรู้ทันป้องกันฝุ่น PM2.5 “การจัดบ้านให้ปลอดฝุ่นได้อย่างไร” ณ ศูนย์แก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศด้านผลกระทบต่อสุขภาพ กรมอนามัย ว่า ในภาพรวมมีแนวโน้มลดลงจากสัปดาห์ที่ผ่านมา แต่ยังคงพบหลายพื้นที่มีค่า PM2.5 เกินค่ามาตรฐาน ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคกลาง ภาคตะวันตกและภาคเหนือ ทั้งนี้ จากข้อมูลรายงานการเฝ้าระวังผลกระทบต่อสุขภาพจากฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 เมื่อวันที่ 10 – 16 มกราคม 2564 พบว่า ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลของกรมควบคุมโรค มีผู้ป่วยที่เข้ามารักษาในโรงพยาบาลเครือข่าย จำนวน 31 ราย เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมาเล็กน้อย ส่วนใหญ่เป็นโรคระบบทางเดินหายใจอื่น ๆ รองลงมาคือโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ส่วนใหญ่ยังเป็นกลุ่มผู้สูงอายุ อายุ 60 – 69 ปี และมีอาชีพรับจ้างทั่วไป ดังนั้น ขอให้ประชาชนโดยเฉพาะกลุ่มเปราะบางที่มีความเสี่ยงสูง เช่น เด็กเล็ก หญิงตั้งครรภ์ ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ หอบหืด เยื่อบุตาอักเสบ หัวใจและหลอดเลือด รวมถึงผู้ที่ทำงานกลางแจ้งเป็นเวลานาน ดูแลป้องกันสุขภาพตนเอง โดยเลี่ยงพื้นที่ฝุ่นสูง (สีแดง) หรือลดระยะเวลาออกนอกอาคารให้น้อยที่สุด หากจำเป็นต้องออกนอกอาคาร ให้สวมหน้ากากป้องกันฝุ่น และงดการทำกิจกรรม หรือออกกำลังกายกลางแจ้ง รวมทั้ง ปิดประตูหน้าต่างให้สนิท หรืออยู่ในห้องปลอดฝุ่นที่จัดเตรียมไว้ และสังเกตอาการตนเอง หากมีอาการไอ แน่นหน้าอก วิงเวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ผื่นแดง หรือมีอาการผิดปกติทางร่างกายอื่น ๆ ควรรีบไปพบแพทย์ทันที


“ทั้งนี้ กระทรวงสาธารณสุข ได้ยกระดับมาตรการด้านการแพทย์และสาธารณสุขในการดูแลคุ้มครองสุขภาพของประชาชนจากฝุ่นละอองขนาดเล็กในพื้นที่เสี่ยง โดยให้ทุกพื้นที่ดำเนินงานเฝ้าระวัง แจ้งเตือนสถานการณ์และดูแลสุขภาพของประชาชนในพื้นที่เสี่ยง ให้คำแนะนำการป้องกันตัวและดูแลสุขภาพ โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง ให้โรงพยาบาลเปิดคลินิกมลพิษเพื่อให้คำปรึกษาและรักษา สนับสนุนอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลแก่กลุ่มเสี่ยง จัดเตรียมห้องปลอดฝุ่นในสถานบริการสาธารณสุข และสนับสนุนให้โรงเรียน ศูนย์เด็กเล็ก สถานดูแลผู้สูงอายุ บ้านเรือนประชาชน จัดเตรียมห้องปลอดฝุ่น รวมทั้งบูรณาการการดำเนินงานในพื้นที่ในการดูแลสุขภาพประชาชน และจัดการแหล่งกำเนิดฝุ่นละออง เพื่อให้ประชาชนได้รับการดูแล และได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ฝุ่นละอองให้น้อยที่สุด หากประชาชนมีปัญหาด้านสุขภาพหรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์แก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ ด้านผลกระทบต่อสุขภาพ (ศกพ.ส) หรือ ทาง “Facebook กรมอนามัย และ “คนรักอนามัย ใส่ใจอากาศ PM2.5” หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดและ สถานบริการสาธารณสุขที่ใกล้บ้านได้ทุกแห่ง” อธิบดีกรมอนามัย กล่าว

..2/ทางด้าน ผศ. ดร.ประพัทธ์

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *