นอกจากต้องต่อสู้กับการระบาดของ COVID-19 แล้ว ล่าสุด กระทรวงสาธารณสุข และวงการแพทย์ยังต้องเหนื่อยกับการชี้แจงเรื่องของวัคซีนโควิด-19 ที่กำลังจะเริ่มฉีดในปลายเดือน ก.พ.64 นี้อีกด้วยPOWERED BY STREAMLYN
ล่าสุด นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พูดถึงการใช้วัคซีนต้านโควิด-19 ในประเทศไทย ว่า วัคซีนจะเป็นมาตรการเสริมในปีนี้ในการป้องกันและควบคุมการระบาดของโรค โดยวัคซีนที่มีอยู่ในปัจจุบันแต่ละชนิดมีความแตกต่างกัน และมีผลข้างเคียงแตกต่างกัน แบ่งเป็น 3 แบบ

แบบที่ 1 ที่ใช้กันมากทางประเทศตะวันตก คือ แบบ mRNA เป็นการใช้รหัสพันธุกรรมไวรัสเป็นตัวนำ แล้วฉีดเข้าร่างกาย ผู้ผลิตวัคซีนกลุ่มนี้ คือ Pfizer และ Moderna เป็นวัคซีนใหม่ High Technology และยังไม่เคยมีการใช้ในมนุษย์มาก่อน
แบบที่ 2 เป็น Viral vector vaccine เป็นประเภทที่ประเทศไทยจะนำเข้ามา คือ บริษัท แอสตราเซเนกา จำกัด ส่วนวัคซีน Sputnik V ของรัสเซียและบริษัทในจีนนั้นไทยไม่ได้ติดต่อ ซึ่งจะคล้ายกับ mRNA และมีการใช้ในมนุษย์มาก่อน เช่น วัคซีนป้องกันโรคอีโบลา และยังมีของจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน ที่อยู่ระหว่างการวิจัยทดลองในระยะที่ 3 และยังไม่ได้รับอนุญาตการใช้จากทางการ
แบบที่ 3 เป็นวัคซีนจากเชื้อตายที่มีการนำมาใช้กว่า 70 ปีแล้ว ยกตัวอย่าง วัคซีนโปลิโอ พิษสุนัขบ้า ตับอักเสบ A แต่ต้องให้วัคซีนหลายครั้ง เป็นวัคซีนรุ่นเก๋า แต่การศึกษาอาการข้างเคียงง่ายกว่าชนิดใหม่ และหากจะผลิตต้องสร้างห้องเพาะเชื้อก่อนทำให้ตาย ซึ่งจะต้องเป็นห้องชีวนิรภัยระดับสูง จึงไม่สามารถลดต้นทุนให้ถูกได้
คุณหมอยง บอกว่า สำหรับประเทศไทย ได้เลือกทางสายกลางของ บริษัท แอสตราเซเนกา จำกัด ที่ไม่ต้องใช้เชื้อก่อโรค และมีราคาถูก
“ตอนนี้ขอให้ทุกคนมีวินัย การป้องกันที่ดีที่สุด คือ การใส่หน้ากาก ล้างมือ เว้นระยะห่าง วัคซีนเป็นตัวเสริม ตลาดของวัคซีนเป็นของผู้ขาย แต่ยืนยันว่าเลือกสิ่งที่ดีที่สุดให้กับประชาชน”
การที่มีคนออกมาแถลงข่าวเกี่ยวกับวัคซีนโดยมีความเข้าใจที่ผิดพลาดหลายประการในฐานะนักวิชาการด้านไวรัสวิทยา และวัคซีน ผมมีความจำเป็น ที่ต้องออกมาชี้แจงให้ประชาชนและสังคมเข้าใจให้ถูกต้องก่อนที่จะเกิดความตื่นตระหนก ความเข้าใจผิดต่างๆ ลามไปมากกว่านี้ จนเกิดความเสียหายต่อการแพทย์ การสาธารณสุข และระบาดวิทยาในการควบคุมโรค

คุณหมอยง อธิบายเหตุผลเป็นข้อๆ ช้าๆ ชัดๆ ว่าประการที่หนึ่ง ในขณะนี้ตลาดของวัคซีนเป็นของผู้ขาย ไม่ใช่ผู้ซื้อวัคซีนที่จะผลิตออกมามีความขาดแคลนอย่างมาก และในระยะแรกไม่มีหลักประกันใดเลยที่จะบ่งบอกถึงว่าวัคซีนตัวไหนจะถึงเป้าหมาย ต้องมีการจองไว้ก่อน ซึ่งประเทศที่ร่ำรวยก็อาจจะได้เปรียบมีเงินจองวัคซีนที่จะคิดค้น และพัฒนาได้มากกว่าประเทศไทย
ประการที่สอง การให้วัคซีนในปีนี้ ในเด็กต่ำกว่า 18 ปียังไม่สามารถ ที่จะให้ได้ เพราะไม่มีการศึกษา ดังนั้น เมื่อตัดกลุ่มประชากรเด็กออกไปจะเป็นประชากรผู้ใหญ่เท่านั้นที่จะได้รับวัคซีน ถึงแม้ประเทศจีนผลิตวัคซีนเป็นจำนวนมาก จีนเองยังไม่คิดที่จะให้ถึง 50 หรือ 60% ของประชากร และเพราะการให้วัคซีนในปัจจุบันเป็นวิธีการเสริมจากการป้องกันที่มีอยู่แล้ว ในการสวมหน้ากากอนามัย ล้างมือ และกำหนดระยะห่าง ซึ่งถ้าเราทำได้ดี การให้วัคซีนก็ไม่ถึงกับต้องเร่งรีบมากจนเกินไป รอการศึกษาให้ได้วัคซีนที่ปลอดภัยดีกว่า
ประการที่สาม ในปีหน้าตลาดของวัคซีนจะเป็นของผู้ซื้อ มีการผลิตออกมาเป็นจำนวนมาก เราก็สามารถที่จะเลือกซื้อได้ในตัวที่ดีที่สุด และราคาถูกที่สุด ดังนั้น ผมเชื่อว่าการประเมินที่ 26 ล้านโดสแรก น่าจะมีความเหมาะสม เพราะรอเวลาที่จะเลือกวัคซีนตัวที่ดีที่สุด และราคาเหมาะสมเข้ามาเสริมในระยะสุดท้าย ดีกว่าที่จะทุ่มเงินมัดจำไปทั้งหมดแล้วในที่สุดก็ไม่สามารถจะเลือกชนิดวัคซีนได้ โดยจะเสียเงินมัดจำไปโดยเปล่าประโยชน์ วัคซีนตัวแรกที่ออกมาไม่จำเป็นที่จะต้องเป็นวัคซีนที่ดีที่สุด
คุณหมอยง บอกด้วยว่า สิ่งที่ได้อีกอย่างหนึ่ง ในการผลิตวัคซีนในประเทศไทย คือ การส่งต่อเทคโนโลยีต่างๆ (Transfer of technology) ในด้านการผลิตเฉพาะเรื่องเกี่ยวกับชีววัตถุซึ่งมีความสำคัญมากในอนาคตและขณะนี้มีบริษัทใหญ่ที่ทำได้ในประเทศไทยก็คงหนีไม่พ้นบริษัท สยามไบโอไซเอนซ์ และไบโอเนทเอเชียที่จะเป็นบริษัทเชิดหน้า ชูตาของไทยได้เท่านั้น บริษัทอื่นยังไม่มีศักยภาพเพียงพอ
“วัคซีนที่ออกมาใหม่ ถ้าถาม ประชาชนว่าต้องการฉีดหรือไม่ ยกตัวอย่างประเทศที่พัฒนาแล้วอย่างอเมริกามีคนที่ต้องการฉีดไม่ถึงครึ่ง เนื่องจากกลัวภาวะแทรกซ้อนในการพัฒนาอย่างเร่งรีบ ประเทศไทยไม่ได้มีการระบาดอย่างรุนแรงอย่างในอเมริกาเสียด้วยซ้ำ การตัดสินใจ สายกลางจึงเป็นวิธีที่ดีที่สุด ดีกว่าที่จะไปผูกมัดจนเกินไป”
นักวิชาการด้านไวรัสวิทยา บอก พร้อมกับให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า การให้วัคซีนเป็นจำนวนล้านล้านคนจะต้องใช้เวลานาน เป็นไปไม่ได้ที่จะฉีดวันละเป็นล้าน การบริหารวัคซีนต้องรอบคอบ ตั้งแต่โลจิสติกส์จนถึงการให้การลงทะเบียนทุกอย่างเร่งไม่ได้ และไม่สามารถบังคับว่าทุกคนต้องฉีด ถ้าเราเลือกวัคซีนไม่ดี แล้วไม่มีคนฉีด ความสูญเสียจะมากมายจากเงินลงทุนไปโดยเปล่าประโยชน์
สิ่งที่ประเทศไทยเราทำอยู่ในขณะนี้ มีความเหมาะสม พอเพียง พอดี บนพื้นฐานของความประมาณตน โดยใช้ความรู้และพึ่งพาตนเองได้ ตามรอย พระราชดำริปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งเป็นเรื่องที่ดีอยู่แล้ว
“ขอฝากให้คนไทยทุกคน แสวงหา ความรู้ อย่าเชื่อข่าวลือหรือข่าวที่ไม่เป็นจริง และระมัดระวังดูแลรักษาสุขภาพของตนให้ดี ใส่หน้ากากอนามัย กินร้อน ช้อนกู ล้างมือ รักษาระยะห่างทางกายภาพ แล้วเราจะผ่านวิกฤติมหาโรคระบาดไปด้วยกัน”.
นอกจากต้องต่อสู้กับการระบาดของ COVID-19 แล้ว ล่าสุด กระทรวงสาธารณสุข และวงการแพทย์ยังต้องเหนื่อยกับการชี้แจงเรื่องของวัคซีนโควิด-19 ที่กำลังจะเริ่มฉีดในปลายเดือน ก.พ.64 นี้อีกด้วยPOWERED BY STREAMLYN
ล่าสุด นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พูดถึงการใช้วัคซีนต้านโควิด-19 ในประเทศไทย ว่า วัคซีนจะเป็นมาตรการเสริมในปีนี้ในการป้องกันและควบคุมการระบาดของโรค โดยวัคซีนที่มีอยู่ในปัจจุบันแต่ละชนิดมีความแตกต่างกัน และมีผลข้างเคียงแตกต่างกัน แบ่งเป็น 3 แบบ

แบบที่ 1 ที่ใช้กันมากทางประเทศตะวันตก คือ แบบ mRNA เป็นการใช้รหัสพันธุกรรมไวรัสเป็นตัวนำ แล้วฉีดเข้าร่างกาย ผู้ผลิตวัคซีนกลุ่มนี้ คือ Pfizer และ Moderna เป็นวัคซีนใหม่ High Technology และยังไม่เคยมีการใช้ในมนุษย์มาก่อน
แบบที่ 2 เป็น Viral vector vaccine เป็นประเภทที่ประเทศไทยจะนำเข้ามา คือ บริษัท แอสตราเซเนกา จำกัด ส่วนวัคซีน Sputnik V ของรัสเซียและบริษัทในจีนนั้นไทยไม่ได้ติดต่อ ซึ่งจะคล้ายกับ mRNA และมีการใช้ในมนุษย์มาก่อน เช่น วัคซีนป้องกันโรคอีโบลา และยังมีของจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน ที่อยู่ระหว่างการวิจัยทดลองในระยะที่ 3 และยังไม่ได้รับอนุญาตการใช้จากทางการ
แบบที่ 3 เป็นวัคซีนจากเชื้อตายที่มีการนำมาใช้กว่า 70 ปีแล้ว ยกตัวอย่าง วัคซีนโปลิโอ พิษสุนัขบ้า ตับอักเสบ A แต่ต้องให้วัคซีนหลายครั้ง เป็นวัคซีนรุ่นเก๋า แต่การศึกษาอาการข้างเคียงง่ายกว่าชนิดใหม่ และหากจะผลิตต้องสร้างห้องเพาะเชื้อก่อนทำให้ตาย ซึ่งจะต้องเป็นห้องชีวนิรภัยระดับสูง จึงไม่สามารถลดต้นทุนให้ถูกได้
คุณหมอยง บอกว่า สำหรับประเทศไทย ได้เลือกทางสายกลางของ บริษัท แอสตราเซเนกา จำกัด ที่ไม่ต้องใช้เชื้อก่อโรค และมีราคาถูก
“ตอนนี้ขอให้ทุกคนมีวินัย การป้องกันที่ดีที่สุด คือ การใส่หน้ากาก ล้างมือ เว้นระยะห่าง วัคซีนเป็นตัวเสริม ตลาดของวัคซีนเป็นของผู้ขาย แต่ยืนยันว่าเลือกสิ่งที่ดีที่สุดให้กับประชาชน”
การที่มีคนออกมาแถลงข่าวเกี่ยวกับวัคซีนโดยมีความเข้าใจที่ผิดพลาดหลายประการในฐานะนักวิชาการด้านไวรัสวิทยา และวัคซีน ผมมีความจำเป็น ที่ต้องออกมาชี้แจงให้ประชาชนและสังคมเข้าใจให้ถูกต้องก่อนที่จะเกิดความตื่นตระหนก ความเข้าใจผิดต่างๆ ลามไปมากกว่านี้ จนเกิดความเสียหายต่อการแพทย์ การสาธารณสุข และระบาดวิทยาในการควบคุมโรค

คุณหมอยง อธิบายเหตุผลเป็นข้อๆ ช้าๆ ชัดๆ ว่าประการที่หนึ่ง ในขณะนี้ตลาดของวัคซีนเป็นของผู้ขาย ไม่ใช่ผู้ซื้อวัคซีนที่จะผลิตออกมามีความขาดแคลนอย่างมาก และในระยะแรกไม่มีหลักประกันใดเลยที่จะบ่งบอกถึงว่าวัคซีนตัวไหนจะถึงเป้าหมาย ต้องมีการจองไว้ก่อน ซึ่งประเทศที่ร่ำรวยก็อาจจะได้เปรียบมีเงินจองวัคซีนที่จะคิดค้น และพัฒนาได้มากกว่าประเทศไทย
ประการที่สอง การให้วัคซีนในปีนี้ ในเด็กต่ำกว่า 18 ปียังไม่สามารถ ที่จะให้ได้ เพราะไม่มีการศึกษา ดังนั้น เมื่อตัดกลุ่มประชากรเด็กออกไปจะเป็นประชากรผู้ใหญ่เท่านั้นที่จะได้รับวัคซีน ถึงแม้ประเทศจีนผลิตวัคซีนเป็นจำนวนมาก จีนเองยังไม่คิดที่จะให้ถึง 50 หรือ 60% ของประชากร และเพราะการให้วัคซีนในปัจจุบันเป็นวิธีการเสริมจากการป้องกันที่มีอยู่แล้ว ในการสวมหน้ากากอนามัย ล้างมือ และกำหนดระยะห่าง ซึ่งถ้าเราทำได้ดี การให้วัคซีนก็ไม่ถึงกับต้องเร่งรีบมากจนเกินไป รอการศึกษาให้ได้วัคซีนที่ปลอดภัยดีกว่า
ประการที่สาม ในปีหน้าตลาดของวัคซีนจะเป็นของผู้ซื้อ มีการผลิตออกมาเป็นจำนวนมาก เราก็สามารถที่จะเลือกซื้อได้ในตัวที่ดีที่สุด และราคาถูกที่สุด ดังนั้น ผมเชื่อว่าการประเมินที่ 26 ล้านโดสแรก น่าจะมีความเหมาะสม เพราะรอเวลาที่จะเลือกวัคซีนตัวที่ดีที่สุด และราคาเหมาะสมเข้ามาเสริมในระยะสุดท้าย ดีกว่าที่จะทุ่มเงินมัดจำไปทั้งหมดแล้วในที่สุดก็ไม่สามารถจะเลือกชนิดวัคซีนได้ โดยจะเสียเงินมัดจำไปโดยเปล่าประโยชน์ วัคซีนตัวแรกที่ออกมาไม่จำเป็นที่จะต้องเป็นวัคซีนที่ดีที่สุด
คุณหมอยง บอกด้วยว่า สิ่งที่ได้อีกอย่างหนึ่ง ในการผลิตวัคซีนในประเทศไทย คือ การส่งต่อเทคโนโลยีต่างๆ (Transfer of technology) ในด้านการผลิตเฉพาะเรื่องเกี่ยวกับชีววัตถุซึ่งมีความสำคัญมากในอนาคตและขณะนี้มีบริษัทใหญ่ที่ทำได้ในประเทศไทยก็คงหนีไม่พ้นบริษัท สยามไบโอไซเอนซ์ และไบโอเนทเอเชียที่จะเป็นบริษัทเชิดหน้า ชูตาของไทยได้เท่านั้น บริษัทอื่นยังไม่มีศักยภาพเพียงพอ
“วัคซีนที่ออกมาใหม่ ถ้าถาม ประชาชนว่าต้องการฉีดหรือไม่ ยกตัวอย่างประเทศที่พัฒนาแล้วอย่างอเมริกามีคนที่ต้องการฉีดไม่ถึงครึ่ง เนื่องจากกลัวภาวะแทรกซ้อนในการพัฒนาอย่างเร่งรีบ ประเทศไทยไม่ได้มีการระบาดอย่างรุนแรงอย่างในอเมริกาเสียด้วยซ้ำ การตัดสินใจ สายกลางจึงเป็นวิธีที่ดีที่สุด ดีกว่าที่จะไปผูกมัดจนเกินไป”
นักวิชาการด้านไวรัสวิทยา บอก พร้อมกับให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า การให้วัคซีนเป็นจำนวนล้านล้านคนจะต้องใช้เวลานาน เป็นไปไม่ได้ที่จะฉีดวันละเป็นล้าน การบริหารวัคซีนต้องรอบคอบ ตั้งแต่โลจิสติกส์จนถึงการให้การลงทะเบียนทุกอย่างเร่งไม่ได้ และไม่สามารถบังคับว่าทุกคนต้องฉีด ถ้าเราเลือกวัคซีนไม่ดี แล้วไม่มีคนฉีด ความสูญเสียจะมากมายจากเงินลงทุนไปโดยเปล่าประโยชน์
สิ่งที่ประเทศไทยเราทำอยู่ในขณะนี้ มีความเหมาะสม พอเพียง พอดี บนพื้นฐานของความประมาณตน โดยใช้ความรู้และพึ่งพาตนเองได้ ตามรอย พระราชดำริปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งเป็นเรื่องที่ดีอยู่แล้ว
“ขอฝากให้คนไทยทุกคน แสวงหา ความรู้ อย่าเชื่อข่าวลือหรือข่าวที่ไม่เป็นจริง และระมัดระวังดูแลรักษาสุขภาพของตนให้ดี ใส่หน้ากากอนามัย กินร้อน ช้อนกู ล้างมือ รักษาระยะห่างทางกายภาพ แล้วเราจะผ่านวิกฤติมหาโรคระบาดไปด้วยกัน”
ที่มา – ขอขอบคุณ thairath.co.th