อย. ชี้แจงทุกคนสามารถใช้ส่วนของกัญชา-กัญชงที่ไม่เป็นยาเสพติดได้ ไม่มีเหลื่อมล้ำ

รูปภาพนี้มี Alt แอตทริบิวต์เป็นค่าว่าง ชื่อไฟล์คือ dFQROr7oWzulq5FZXllreubPZdHHAXtCOpnrGAnl0KLUW2unGIbECawdSkfectvHjVN-1-1024x576.jpg

อย. ชี้แจงทุกคนสามารถใช้ส่วนของกัญชา-กัญชงที่ไม่เป็นยาเสพติดได้ ไม่มีเหลื่อมล้ำ

อย. ชี้แจงประชาชนทุกคนสามารถใช้ส่วนของกัญชง-กัญชงที่ไม่เป็นยาเสพติดได้ ไม่มีเหลื่อมล้ำ โดยต้องมาจากแหล่งที่ได้รับอนุญาต สามารถนำใบไปประกอบอาหารรับประทานในครัวเรือนหรือจำหน่ายภายในร้านของตนได้
แต่หากทำผลิตภัณฑ์สุขภาพจำหน่ายจะต้องขอเลข อย. ตามกฎหมายของแต่ละผลิตภัณฑ์ เตือน เด็ก สตรีมีครรภ์และ
ให้นมบุตร ผู้มีโรคประจำตัวควรระมัดระวังการรับประทานอาหารจากกัญชา

 

รูปภาพนี้มี Alt แอตทริบิวต์เป็นค่าว่าง ชื่อไฟล์คือ NBT-สัมภาษณ์รองฯบุ๋ม_๒๑๐๒๐๖_0-1024x684.jpg

เภสัชกรหญิงสุภัทรา บุญเสริม รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า ขณะนี้ยังมีข้อสงสัยในการปลดล็อกส่วนของกัญชง กัญชงที่ไม่จัดเป็นยาเสพติดว่า เป็นการเอื้อเฉพาะบางหน่วยงาน เช่น โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร และมหาวิทยาลัยแม่โจ้ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ขอชี้แจงว่า กรณีโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศรและมหาวิทยาลัยแม่โจ้ สามารถประกอบอาหารจากใบกัญชาได้ เพราะทั้งสองแห่งเป็นผู้ได้รับอนุญาตปลูกกัญชาและได้ขอแก้ไขโครงการเพื่อนำใบกัญชาไปใช้ประโยชน์แล้ว หากผู้ได้รับอนุญาตปลูกกัญชารายอื่นต้องการนำใบหรือส่วนต่าง ๆ ที่ไม่เป็นยาเสพติดไปใช้ประโยชน์หรือจำหน่ายก็สามารถทำได้เช่นกัน โดยยื่นขอแก้ไขแผนการนำไปใช้ประโยชน์ที่ อย. และขอยืนยันว่า ประชาชนทุกคนสามารถใช้ประโยชน์จากส่วนของกัญชา กัญชงที่ไม่จัดเป็นยาเสพติดได้ แต่ต้องมาจากผู้ได้รับอนุญาตปลูกที่ถูกต้องตามกฎหมาย

ซึ่งสถาบันกัญชาทางการแพทย์ได้เปิดช่องทางจับคู่ระหว่างผู้ที่สนใจใช้ประโยชน์จากส่วนของกัญชาที่ไม่เป็นยาเสพติดกับผู้ได้รับอนุญาตปลูก โดย สามารถลงทะเบียนที่ http://bit.ly/2N4NC3R ทั้งนี้ การนำใบกัญชาไปประกอบอาหารเพื่อรับประทานในครัวเรือนหรือจำหน่ายในร้านอาหารของตัวเองสามารถทำได้ แต่หากนำส่วนของกัญชา กัญชง ที่ไม่เป็นยาเสพติดไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์สุขภาพเพื่อจำหน่าย จะต้องขออนุญาตภายใต้กฎหมายผลิตภัณฑ์สุขภาพนั้นด้วย ขณะนี้สามารถขออนุญาตเครื่องสำอางที่มีส่วนประกอบของเมล็ดกัญชงและสารสกัดของเมล็ดกัญชง และผลิตภัณฑ์สมุนไพรใช้ภายนอก เช่น ยาหม่อง ยาน้ำมัน ยาครีม ที่มีส่วนประกอบของใบ ลำต้น กิ่งก้านและรากกัญชา กัญชงได้แล้ว ส่วนการขยายการใช้ประโยชน์ในผลิตภัณฑ์สุขภาพอื่น ๆ ขณะนี้อยู่ระหว่างจัดทำกฎหมายให้มีผลใช้บังคับต่อไป

รองเลขาธิการฯ อย. กล่าวในตอนท้ายว่า ทั้งนี้ การนำใบกัญชาไปประกอบอาหารยังมีข้อควรระวัง เนื่องจากการใช้กัญชาในอาหารเป็นสิ่งใหม่ ผู้บริโภคบางคนอาจยังไม่คุ้นเคย ควรเริ่มต้นรับประทานแต่น้อย นอกจากนี้ ผู้บริโภคบางกลุ่ม เช่น เด็ก สตรีมีครรภ์และให้นมบุตร ผู้ที่มีโรคประจำตัวควรระมัดระวังในการรับประทาน โดย อย. และ โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศรจะจัดทำชุดความรู้ในการรับประทานและประกอบอาหารจากกัญชาอย่างปลอดภัยเพื่อเผยแพร่ในเร็ว ๆ นี้
———————————————————
วันที่เผยแพร่ข่าว 6 กุมภาพันธ์ 2564 ข่าวแจก 72 ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564
ข้อมูล https://bit.ly/2YNEhAi

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *