สสส. จับมือ “Flock Learning” “นิตยสาร WAY” “Base Playhouse” และ “Text & Title” เปิด “แมพปา” แพลตฟอร์มการเรียนรู้ออนไลน์เฉพาะกิจ ชวนพ่อแม่ลูกในจังหวัดสมุทรสาคร 100 ครอบครัว เปลี่ยน ‘บ้าน’ เป็น ‘ห้องเรียน’ แก้โจทย์โรงเรียนปิดช่วงโควิด-19 ระบาดระลอกใหม่

รูปภาพนี้มี Alt แอตทริบิวต์เป็นค่าว่าง ชื่อไฟล์คือ โปสเตอร์-921x1024.jpg

สสส. จับมือ  “Flock Learning” “นิตยสาร WAY” “Base Playhouse” และ “Text & Title” เปิด “แมพปา” แพลตฟอร์มการเรียนรู้ออนไลน์เฉพาะกิจ ชวนพ่อแม่ลูกในจังหวัดสมุทรสาคร 100 ครอบครัว เปลี่ยน ‘บ้าน’ เป็น ‘ห้องเรียน’ แก้โจทย์โรงเรียนปิดช่วงโควิด-19 ระบาดระลอกใหม่

รูปภาพนี้มี Alt แอตทริบิวต์เป็นค่าว่าง ชื่อไฟล์คือ คุณณัฐยา-สสส.jpg

นางสาวณัฐยา บุญภักดี ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะเด็ก เยาวชน และครอบครัว สสส. กล่าวถึงที่มาของงานนี้ว่า เมื่อเกิดการระบาดของโควิด-19 รอบแรกในปี 2563 สถานศึกษาทั่วประเทศต้องปิดชั่วคราว เด็กและครอบครัวต่างได้รับผลกระทบ สสส. และภาคีทั้ง 4 หน่วยงานจึงได้ร่วมกันพัฒนาแพลตฟอร์มเพื่อการเรียนรู้ร่วมกันของเด็ก ๆ และครอบครัว ชื่อ แมพปา – mappa เป็นการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้วิธีคิดแบบเกม หรือ เกมิฟิเคชั่นเพื่อการเรียนรู้ (gamification for learning) เน้นให้เกิดการเรียนรู้ผ่านระบบออนไลน์และออฟไลน์ควบคู่กัน เปิดให้ใช้งานตั้งแต่ปลายปี 2563 ที่ผ่านมาในช่วงแรกได้เปิดให้บริการแก่ครอบครัวที่มีลูกเล็กอายุไม่เกิน 8 ขวบจำนวน 1,000 ครอบครัว ต่อมาได้รับการติดต่อจากผู้ปกครองในจังหวัดสมุทรสาครว่าการระบาดรอบใหม่ทำให้เด็ก ๆ และครอบครัวในจังหวัดได้รับผลกระทบอย่างมากจากการปิดสถานศึกษา อยากให้เพิ่มโคตาสำหรับครอบครัวในจังหวัดสมุทรสาครเป็นการเฉพาะอย่างน้อย 100 ครอบครัว ทีมงานจึงเร่งพัฒนาระบบให้รองรับและเปิดให้ทั้ง 100 ครอบครัวตั้งแต่เดือนมกราคมที่ผ่านมา

นางสาวณัฐยา กล่าวอีกว่า สสส. เล็งเห็นว่าการเรียนรู้ของเด็กยุคใหม่ไม่ได้เกิดขึ้นแค่ในสถานศึกษา จึงสนับสนุนเรื่องการเรียนรู้ให้เป็นส่วนหนึ่งของการใช้ชีวิต เรียนรู้ได้ทุกที่ทุกเวลาตามความสะดวก และถ้ายิ่งเรียนรู้ร่วมกันทั้งครอบครัว จะยิ่งเพิ่มความรักความอบอุ่นระหว่างสมาชิกครอบครัวด้วย ซึ่งต้องยอมรับว่าโควิด-19 ที่เกิดขึ้นเป็นตัวเร่งการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของคนในสังคม ในส่วนของผู้ปกครองต้องรีบปรับตัวตามให้ทัน การสื่อสารในห้องเรียนเพียงทางเดียวอาจไม่เพียงพอ การสร้างระบบนิเวศการเรียนรู้ที่หลากหลายเชื่อมโยงได้ทั้งโลกออนไลน์และโลกจริง จะช่วยลดช่องว่างของการเรียนรู้ สมาร์ทโฟนและอินเทอร์เน็ตเป็นตัวช่วยให้เกิดการเรียนรู้ ยิ่งถ้าในอนาคตสามารถทำให้อินเทอร์เน็ตฟรีเกิดขึ้นได้จริง จะยิ่งช่วยลดความเหลื่อมล้ำในการเรียนรู้ได้มากขึ้น

รูปภาพนี้มี Alt แอตทริบิวต์เป็นค่าว่าง ชื่อไฟล์คือ คุณมิรา-Map-pa-683x1024.jpgนางสาวมิรา เวฬุภาค ผู้อำนวยการ Flock Learning ผู้ร่วมก่อตั้ง Mappa กล่าวว่า เกมิฟิเคชั่น (Gamification) เป็นกระบวนการสร้างหรือเปลี่ยนพฤติกรรมของคนให้เกิดความรู้สึกสนุกเหมือนกับเล่นเกม ออกแบบมาเพื่อเปลี่ยนพฤติกรรมของคนให้สามารถติดตามในเรื่องใดเรื่องหนึ่งได้เป็นเวลานาน แพลตฟอร์ม mappa จะเป็นตัวช่วยจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยเอาความสนุกเป็นตัวนำ ให้เด็กและครอบครัวได้ทำภารกิจร่วมกันเพื่อให้ผ่านด่าน โดยเด็ก ๆ จะรับบทบาท ‘นักผจญภัย’ ส่วนผู้ใหญ่ที่ร่วมเดินทางจะรับบทบาทเป็น ‘คู่หู’ ช่วยกันพิชิตภารกิจ ต้องช่วยกันตัดสินใจ ช่วยกันลงมือทำ เช่น ทำอาหาร ทำงานบ้าน อ่านนิทาน ปลูกต้นไม้ ฯลฯ เป็นห้องเรียนออนไลน์ที่มีทั้งความรู้และความสนุก เด็ก ๆ สามารถเรียนรู้ได้จนจบเกม  การเรียนรู้ลักษณะนี้ยังช่วยเป็นตัวอย่างให้กับสถานศึกษาต่าง ๆ ได้ลองนำไปปรับห้องเรียน จากที่ครูต้องเตรียมการสอนมาสู่การสร้างแรงบันดาลใจหรือความอยากเรียนรู้ให้แก่เด็ก โดยผู้ปกครองหรือคุณครูที่สนใจ สามารถสมัครร่วมโครงการได้ที่ www.mappalearning.co หรือเฟซบุ๊ก mappalearning

 

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *