อำเภอบางใหญ่ ดำเนินโครงการเสริมสร้างและพัฒนาผู้นำการเปลี่ยนแปลง ผลักดันตำบลนำร่องสร้างความมั่นคงทางอาหาร

 

วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2564 นายชุ้น ณัฐเดช นายอำเภอบางใหญ่ เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการเสริมสร้างและพัฒนาผู้นำการเปลี่ยนแปลง โดยมีนายอำพรชัย วิชิตพรชัย พัฒนาการอำเภอบางใหญ่ เป็นผู้กล่าววัตถุประสงค์ของการจัดกิจกรรมโดยมี ทีมงานสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัด เจ้าหน้าที่สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอ ตลอดจนผู้นำชุมชนและภาคีเครือข่าย หน่วยงานอำเภอ เข้าร่วมกิจกรรมฯ โดยกิจกรรมกำหนดขึ้นระหว่างวันที่ วันที่ 23-25 กุมภาพันธ์ 2564 ณ หมู่4 ตำบลบางใหญ่ อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี

โดยการดำเนิโครงการมีวัตถุประสงค์ เพิ่อเพิ่มขีดความสามารถของผู้นำชุมชนให้สามารถบูรณาการงานพัฒนาชุมชนนำไปสู่การพึ่งพาตนเองได้ และเพื่อใช้พลังชุมชนในการเสริมสร้างความมั่นคงทางด้านอาหาร สร้างภูมิคุ้มกันทางสังคมและสร้างสิ่งแวดล้อมให้ยั่งยืน ในภาวะวิกฤตการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ตลอดจนขับเคลื่อนภารกิจของสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดนนทบุรี กรมการพัฒนาชุมชน คือ ผู้นำชุมชนเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนบูรณาการงาน สร้างการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน การอนุรักษ์ดิน น้ำ ป่า การปกป้องดิน สร้างความสามัคคีของคนในชุมชน พึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืน ภายใต้คติพจน์ “1 หมู่บ้าน สามารถดูแลได้ทั้งตำบลสร้างความมั่นคงทางด้านอาหารด้วยหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” สำหรับกิจกรรมในวันนี้ประกอบด้วย

1. พิธีเปิดและบรรยายพิเศษด้วยคลิปวิดีโอ ในหัวข้อ “บทบาทผู้นำการเปลี่ยนแปลง ในการสร้างความมั่นคงทางอาหาร” โดยอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน สร้างแรงจูงใจต่อการขับเคลื่อนงาน นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น Change for Good สร้างชุมชนเข้มแข็งและพึ่งตนเองได้ โดยน้อมนำแนวพระราชดำริของกรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สร้างความมั่นคงทางอาหารสู่ปฏิบัติการ 90 วัน ปลูกผักสวนครัว เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร แก่พี่น้องประชาชน

2. กิจกรรม “ทำความดีด้วยหัวใจ” และตั้งปณิธาน จิตอาสาพัฒนาชุมชน

3.กิจกรรมสร้างความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติตัวให้ถูกต้องและเหมาะสมตามแนวทางจิตอาสาพระราชทาน

4 การเรียนรู้ในหัวข้อ “การน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาสู่การปฏิบัติ”

และถอดบทเรียนการเรียนรู้ด้วยวิธีการถามตอบวิทยากร ได้สรุปความรู้ให้ผู้เข้าอบรม ได้สร้างภาวะผู้นำในการกระตุ้น ผลักดันให้บุคคลอื่นมีความเต็มใจกระตือรือร้นในการทำสิ่งต่างๆ ให้บรรลุเป้าหมายของกลุ่มหรือองค์กร สามารถนำมาบูรณาการทำงาน เกิดสู่การเปลี่ยนแปลงตำบล หมู่บ้าน ในการสร้างความมั่นคงทางอาหาร และได้ทราบถึงบทบาทและหน้าที่ของจิตอาสาเพื่อพัฒนาชุมชน ในการสร้างพลังชุมชน เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความรู้ ความเข้าใจตามหลักคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อนำมาปรับใช้ในชีวิตประจำวัน

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *