กระทรวงสาธารณสุขเผยคลัสเตอร์แคมป์คนงานก่อสร้าง จ.สมุทรปราการ ติดเชื้อ 17 ราย ตรวจเชิงรุกพบเพิ่มอีก 6 ราย ถือว่าควบคุมสถานการณ์ได้ ชี้ความแออัด ใช้สิ่งของร่วมกันเป็นปัจจัยเสี่ยง รุกตรวจแคมป์อื่นเพิ่มเติมปรับแก้ไขจุดเสี่ยง ส่วนวัคซีนโควิด 19 ฉีดแล้วกว่า 7 หมื่นโดส คาดสัปดาห์หน้ากระจายล็อตใหม่ 8 แสนโดสในพื้นที่เป้าหมายได้ตามแผน
วันนี้ (21 มีนาคม 2564) ที่ศูนย์แถลงข่าวสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค แถลงข่าวสถานการณ์โรคโควิด 19 และการบริหารจัดการวัคซีนโควิด 19 ว่า วันนี้ประเทศมีผู้ติดเชื้อรายใหม่ 90 ราย มาจากระบบเฝ้าระวังในโรงพยาบาล 45 ราย ค้นหาเชิงรุกในชุมชน 36 ราย และเดินทางมาจากต่างประเทศ 9 ราย ไม่มีผู้เสียชีวิต รักษาหาย 86 ราย ส่วนการติดเชื้อระลอกใหม่ตั้งแต่วันที่ 15 ธันวาคม 2563 - 21 มีนาคม 2564 รักษาหายแล้ว 22,421 ราย คิดเป็นร้อยละ 95.14 เสียชีวิตสะสม 30 ราย
สำหรับกรณีผู้ติดเชื้อกลุ่มก้อนแคมป์คนงานก่อสร้าง จ.สมุทรปราการ จำนวน 17 ราย พบผู้ติดเชื้อรายแรกเป็นหญิงชาวกัมพูชาอายุ 29 ปี ไปตรวจหาเชื้อเพื่อต่ออายุใบทำงาน เป็นการติดเชื้อไม่มีอาการ จึงทำการสอบสวนโรคและตรวจแคมป์คนงานสุขุมวิท 117 ต.บางเมืองใหม่ อ.เมือง จ.สมุทรปราการ พบติดเชื้ออีก 16 ราย (วันที่ 18 มีนาคม พบ 15 ราย และวันที่ 19 มีนาคม พบ 1 ราย) แบ่งเป็นคนไทย 4 คน กัมพูชา 10 คน และเมียนมา 2 คน ส่วนใหญ่ไม่มีอาการ จากนั้นจึงค้นหาเชิงรุกในชุมชนและแคมป์คนงานที่เกี่ยวเนื่องกันวันที่ 19 มีนาคม จำนวน 593 ราย ผลการตรวจพบติดเชื้อเพิ่มเติม 6 ราย ทั้งนี้ ปัจจัยเสี่ยงคือไซต์คนงานค่อนข้างแออัด ใช้สิ่งของร่วมกัน ห้องสุขา-ห้องอาบน้ำรวม รวมทั้งมีพนักงานบางคนฝ่าฝืนมาตรการบริษัทไปสังสรรค์ในพื้นที่เสี่ยง เมื่อติดเชื้อไม่มีอาการเข้ามาทำให้มีการแพร่เชื้อในแคมป์ต่อ
“จากนี้การสอบสวนควบคุมโรคจะติดตามไปในแคมป์คนงานอื่นๆ เพิ่มเติมว่า ค้นหาปัจจัยเสี่ยงและต้องแก้ไข รวมถึงเฝ้าระวังเชิงรุกในบางจุดมากขึ้น ในภาพรวมถือว่าควบคุมสถานการณ์ได้อย่างรวดเร็ว หากเจอผู้ติดเชื้อเพิ่มคาดว่าจะเจอแบบกระจัดกระจายไม่เป็นกลุ่มก้อนใหญ่ ความระมัดระวังและความร่วมมือขององค์กรและบริษัทมีความสำคัญมาก หากหละหลวมจะทำให้มีความเสี่ยงการติดเชื้อ ซึ่งการระบาดในระลอกใหม่ข้อสังเกตคือมักไม่มีอาการ จึงต้องไม่ประมาท โดยใส่หน้ากาก เว้นระยะห่าง ไม่อยู่ในพื้นที่แออัด” นายแพทย์โอภาสกล่าว
ส่วนกรณีตลาดย่านบางแคพบการติดเชื้อในช่วงเริ่มต้น และดำเนินการสอบสวนควบคุมโรคได้เร็ว ทำให้ไม่มีการกระจายออกไปจำนวนมาก โดยจากการตรวจเชิงรุกในตลาด 4,315 คน พบติดเชื้อ 309 ราย คิดเป็นร้อยละ 8 การค้นหาผู้ป่วยเชิงรุกในชุมชนด้วยรถตรวจเชื้อชีวนิรภัยพระราชทาน จำนวน 6,293 คน พบติดเชื้อ 26 ราย คิดเป็นร้อยละ 0.6 และการตรวจเชิงรุกในชุมชนใกล้เคียง 4,886 คน พบติดเชื้อ 49 ราย คิดเป็นร้อยละ 1 ถือว่าพบการติดเชื้อไม่มาก ได้นำเข้าสู่การรักษาพยาบาล ผู้สัมผัสเสี่ยงสูงดำเนินการกักตัวและตรวจหาเชื้อต่อไป นอกจากนี้ยังได้มีการปิดตลาดเพื่อปรับปรุงสุขาภิบาล ฉีดวัคซีนโควิด 19 ให้ผู้ค้าและแรงงานช่วง 3-4 วันที่ผ่านมาจำนวน 3 พันกว่าราย และการออกบัตรรับรองผลการตรวจโควิดผู้ค้าและคนงานก่อนอนุญาตให้เข้าตลาด ทำให้ควบคุมสถานการณ์ได้อย่างรวดเร็ว ยังคงค้นหาผู้ป่วย ปรับปรุงตลาด และเฝ้าระวังในสถานพยาบาลอีก 1-2 สัปดาห์
นายแพทย์โอภาสกล่าวต่อว่า ความคืบหน้าการฉีดวัคซีนโควิด 19 ในสถานพยาบาล ตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์ - 20 มีนาคม 2564 และรวมกับการออกหน่วยฉีดวัคซีนในชุมชนที่ตลาดบางแค ถือว่าฉีดเกินกว่า 7 หมื่นรายแล้ว ไม่พบผลข้างเคียงรุนแรง เกือบทุกจังหวัดฉีดได้ตามเป้าหมาย 100 เปอร์เซ็นต์ เหลือกรุงเทพมหานครซึ่งมีการปรับแผนออกหน่วยฉีดวัคซีนเชิงรุกเพื่อควบคุมสถานการณ์ คาดว่าจะมีการฉีดวัคซีนได้จำนวนเพิ่มมากขึ้น ส่วนวัคซีนซิโนแวคล็อตใหม่อีก 8 แสนโดส ถือว่าเป็นไปตามแผน โดยองค์การเภสัชกรรมในฐานะผู้นำเข้าได้ตรวจสอบเอกสาร ทั้งความปลอดภัยและคุณภาพการผลิตของโรงงาน จากนั้นส่งวัคซีนไปทดสอบในห้องปฏิบัติการของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ คาดว่าภายในสัปดาห์หน้าจะกระจายวัคซีนไปฉีดประชาชนกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่เป้าหมายที่วางแผนไว้ ทั้งนี้ วัคซีนทั้ง 2 ชนิดที่ประเทศไทยนำมาฉีดถือว่ามีความเหมาะสมกับสถานการณ์และดำเนินการได้ตามแผนที่วางไว้
“ในต่างประเทศมีการฉีดวัคซีนโควิด 19 จำนวนมากแล้ว ยังพบการติดเชื้อรายใหม่ค่อนข้างสูง จนมีการประกาศล็อกดาวน์ใหม่ เนื่องจากการ์ดตกหลังฉีดวัคซีน ดังนั้น ประเทศไทยที่กำลังมีการทยอยฉีดวัคซีนจึงต้องย้ำว่ายังต้องใส่หน้ากาก ล้างมือ และเว้นระยะห่าง เนื่องจากการสร้างภูมิคุ้มกันต้องใช้ระยะเวลา ส่วนกรณีเชื้อโควิดสายพันธุ์แอฟริกาใต้ การกักตัวยังมีความสำคัญ ดังนั้น ผู้ที่เดินทางมาจากประเทศที่มีสายพันธุ์แอฟริกาใต้จำนวนมาก ยังคงให้กักตัว 14 วัน” นายแพทย์โอภาสกล่าว
สธ.เผยควบคุมคลัสเตอร์แคมป์คนงานก่อสร้าง จ.สมุทรปราการได้ รุกตรวจแคมป์อื่นเพิ่มเติม
กระทรวงสาธารณสุขเผยคลัสเตอร์แคมป์คนงานก่อสร้าง จ.สมุทรปราการ ติดเชื้อ 17 ราย ตรวจเชิงรุกพบเพิ่มอีก 6 ราย ถือว่าควบคุมสถานการณ์ได้ ชี้ความแออัด ใช้สิ่งของร่วมกันเป็นปัจจัยเสี่ยง รุกตรวจแคมป์อื่นเพิ่มเติมปรับแก้ไขจุดเสี่ยง ส่วนวัคซีนโควิด 19 ฉีดแล้วกว่า 7 หมื่นโดส คาดสัปดาห์หน้ากระจายล็อตใหม่ 8 แสนโดสในพื้นที่เป้าหมายได้ตามแผน
วันนี้ (21 มีนาคม 2564) ที่ศูนย์แถลงข่าวสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค แถลงข่าวสถานการณ์โรคโควิด 19 และการบริหารจัดการวัคซีนโควิด 19 ว่า วันนี้ประเทศมีผู้ติดเชื้อรายใหม่ 90 ราย มาจากระบบเฝ้าระวังในโรงพยาบาล 45 ราย ค้นหาเชิงรุกในชุมชน 36 ราย และเดินทางมาจากต่างประเทศ 9 ราย ไม่มีผู้เสียชีวิต รักษาหาย 86 ราย ส่วนการติดเชื้อระลอกใหม่ตั้งแต่วันที่ 15 ธันวาคม 2563 – 21 มีนาคม 2564 รักษาหายแล้ว 22,421 ราย คิดเป็นร้อยละ 95.14 เสียชีวิตสะสม 30 ราย
สำหรับกรณีผู้ติดเชื้อกลุ่มก้อนแคมป์คนงานก่อสร้าง จ.สมุทรปราการ จำนวน 17 ราย พบผู้ติดเชื้อรายแรกเป็นหญิงชาวกัมพูชาอายุ 29 ปี ไปตรวจหาเชื้อเพื่อต่ออายุใบทำงาน เป็นการติดเชื้อไม่มีอาการ จึงทำการสอบสวนโรคและตรวจแคมป์คนงานสุขุมวิท 117 ต.บางเมืองใหม่ อ.เมือง จ.สมุทรปราการ พบติดเชื้ออีก 16 ราย (วันที่ 18 มีนาคม พบ 15 ราย และวันที่ 19 มีนาคม พบ 1 ราย) แบ่งเป็นคนไทย 4 คน กัมพูชา 10 คน และเมียนมา 2 คน ส่วนใหญ่ไม่มีอาการ จากนั้นจึงค้นหาเชิงรุกในชุมชนและแคมป์คนงานที่เกี่ยวเนื่องกันวันที่ 19 มีนาคม จำนวน 593 ราย ผลการตรวจพบติดเชื้อเพิ่มเติม 6 ราย ทั้งนี้ ปัจจัยเสี่ยงคือไซต์คนงานค่อนข้างแออัด ใช้สิ่งของร่วมกัน ห้องสุขา-ห้องอาบน้ำรวม รวมทั้งมีพนักงานบางคนฝ่าฝืนมาตรการบริษัทไปสังสรรค์ในพื้นที่เสี่ยง เมื่อติดเชื้อไม่มีอาการเข้ามาทำให้มีการแพร่เชื้อในแคมป์ต่อ
“จากนี้การสอบสวนควบคุมโรคจะติดตามไปในแคมป์คนงานอื่นๆ เพิ่มเติมว่า ค้นหาปัจจัยเสี่ยงและต้องแก้ไข รวมถึงเฝ้าระวังเชิงรุกในบางจุดมากขึ้น ในภาพรวมถือว่าควบคุมสถานการณ์ได้อย่างรวดเร็ว หากเจอผู้ติดเชื้อเพิ่มคาดว่าจะเจอแบบกระจัดกระจายไม่เป็นกลุ่มก้อนใหญ่ ความระมัดระวังและความร่วมมือขององค์กรและบริษัทมีความสำคัญมาก หากหละหลวมจะทำให้มีความเสี่ยงการติดเชื้อ ซึ่งการระบาดในระลอกใหม่ข้อสังเกตคือมักไม่มีอาการ จึงต้องไม่ประมาท โดยใส่หน้ากาก เว้นระยะห่าง ไม่อยู่ในพื้นที่แออัด” นายแพทย์โอภาสกล่าว
ส่วนกรณีตลาดย่านบางแคพบการติดเชื้อในช่วงเริ่มต้น และดำเนินการสอบสวนควบคุมโรคได้เร็ว ทำให้ไม่มีการกระจายออกไปจำนวนมาก โดยจากการตรวจเชิงรุกในตลาด 4,315 คน พบติดเชื้อ 309 ราย คิดเป็นร้อยละ 8 การค้นหาผู้ป่วยเชิงรุกในชุมชนด้วยรถตรวจเชื้อชีวนิรภัยพระราชทาน จำนวน 6,293 คน พบติดเชื้อ 26 ราย คิดเป็นร้อยละ 0.6 และการตรวจเชิงรุกในชุมชนใกล้เคียง 4,886 คน พบติดเชื้อ 49 ราย คิดเป็นร้อยละ 1 ถือว่าพบการติดเชื้อไม่มาก ได้นำเข้าสู่การรักษาพยาบาล ผู้สัมผัสเสี่ยงสูงดำเนินการกักตัวและตรวจหาเชื้อต่อไป นอกจากนี้ยังได้มีการปิดตลาดเพื่อปรับปรุงสุขาภิบาล ฉีดวัคซีนโควิด 19 ให้ผู้ค้าและแรงงานช่วง 3-4 วันที่ผ่านมาจำนวน 3 พันกว่าราย และการออกบัตรรับรองผลการตรวจโควิดผู้ค้าและคนงานก่อนอนุญาตให้เข้าตลาด ทำให้ควบคุมสถานการณ์ได้อย่างรวดเร็ว ยังคงค้นหาผู้ป่วย ปรับปรุงตลาด และเฝ้าระวังในสถานพยาบาลอีก 1-2 สัปดาห์
นายแพทย์โอภาสกล่าวต่อว่า ความคืบหน้าการฉีดวัคซีนโควิด 19 ในสถานพยาบาล ตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์ – 20 มีนาคม 2564 และรวมกับการออกหน่วยฉีดวัคซีนในชุมชนที่ตลาดบางแค ถือว่าฉีดเกินกว่า 7 หมื่นรายแล้ว ไม่พบผลข้างเคียงรุนแรง เกือบทุกจังหวัดฉีดได้ตามเป้าหมาย 100 เปอร์เซ็นต์ เหลือกรุงเทพมหานครซึ่งมีการปรับแผนออกหน่วยฉีดวัคซีนเชิงรุกเพื่อควบคุมสถานการณ์ คาดว่าจะมีการฉีดวัคซีนได้จำนวนเพิ่มมากขึ้น ส่วนวัคซีนซิโนแวคล็อตใหม่อีก 8 แสนโดส ถือว่าเป็นไปตามแผน โดยองค์การเภสัชกรรมในฐานะผู้นำเข้าได้ตรวจสอบเอกสาร ทั้งความปลอดภัยและคุณภาพการผลิตของโรงงาน จากนั้นส่งวัคซีนไปทดสอบในห้องปฏิบัติการของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ คาดว่าภายในสัปดาห์หน้าจะกระจายวัคซีนไปฉีดประชาชนกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่เป้าหมายที่วางแผนไว้ ทั้งนี้ วัคซีนทั้ง 2 ชนิดที่ประเทศไทยนำมาฉีดถือว่ามีความเหมาะสมกับสถานการณ์และดำเนินการได้ตามแผนที่วางไว้
“ในต่างประเทศมีการฉีดวัคซีนโควิด 19 จำนวนมากแล้ว ยังพบการติดเชื้อรายใหม่ค่อนข้างสูง จนมีการประกาศล็อกดาวน์ใหม่ เนื่องจากการ์ดตกหลังฉีดวัคซีน ดังนั้น ประเทศไทยที่กำลังมีการทยอยฉีดวัคซีนจึงต้องย้ำว่ายังต้องใส่หน้ากาก ล้างมือ และเว้นระยะห่าง เนื่องจากการสร้างภูมิคุ้มกันต้องใช้ระยะเวลา ส่วนกรณีเชื้อโควิดสายพันธุ์แอฟริกาใต้ การกักตัวยังมีความสำคัญ ดังนั้น ผู้ที่เดินทางมาจากประเทศที่มีสายพันธุ์แอฟริกาใต้จำนวนมาก ยังคงให้กักตัว 14 วัน” นายแพทย์โอภาสกล่าว
สธ.เผยควบคุมคลัสเตอร์แคมป์คนงานก่อสร้าง จ.สมุทรปราการได้ รุกตรวจแคมป์อื่นเพิ่มเติม
กระทรวงสาธารณสุขเผยคลัสเตอร์แคมป์คนงานก่อสร้าง จ.สมุทรปราการ ติดเชื้อ 17 ราย ตรวจเชิงรุกพบเพิ่มอีก 6 ราย ถือว่าควบคุมสถานการณ์ได้ ชี้ความแออัด ใช้สิ่งของร่วมกันเป็นปัจจัยเสี่ยง รุกตรวจแคมป์อื่นเพิ่มเติมปรับแก้ไขจุดเสี่ยง ส่วนวัคซีนโควิด 19 ฉีดแล้วกว่า 7 หมื่นโดส คาดสัปดาห์หน้ากระจายล็อตใหม่ 8 แสนโดสในพื้นที่เป้าหมายได้ตามแผน
วันนี้ (21 มีนาคม 2564) ที่ศูนย์แถลงข่าวสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค แถลงข่าวสถานการณ์โรคโควิด 19 และการบริหารจัดการวัคซีนโควิด 19 ว่า วันนี้ประเทศมีผู้ติดเชื้อรายใหม่ 90 ราย มาจากระบบเฝ้าระวังในโรงพยาบาล 45 ราย ค้นหาเชิงรุกในชุมชน 36 ราย และเดินทางมาจากต่างประเทศ 9 ราย ไม่มีผู้เสียชีวิต รักษาหาย 86 ราย ส่วนการติดเชื้อระลอกใหม่ตั้งแต่วันที่ 15 ธันวาคม 2563 – 21 มีนาคม 2564 รักษาหายแล้ว 22,421 ราย คิดเป็นร้อยละ 95.14 เสียชีวิตสะสม 30 ราย
สำหรับกรณีผู้ติดเชื้อกลุ่มก้อนแคมป์คนงานก่อสร้าง จ.สมุทรปราการ จำนวน 17 ราย พบผู้ติดเชื้อรายแรกเป็นหญิงชาวกัมพูชาอายุ 29 ปี ไปตรวจหาเชื้อเพื่อต่ออายุใบทำงาน เป็นการติดเชื้อไม่มีอาการ จึงทำการสอบสวนโรคและตรวจแคมป์คนงานสุขุมวิท 117 ต.บางเมืองใหม่ อ.เมือง จ.สมุทรปราการ พบติดเชื้ออีก 16 ราย (วันที่ 18 มีนาคม พบ 15 ราย และวันที่ 19 มีนาคม พบ 1 ราย) แบ่งเป็นคนไทย 4 คน กัมพูชา 10 คน และเมียนมา 2 คน ส่วนใหญ่ไม่มีอาการ จากนั้นจึงค้นหาเชิงรุกในชุมชนและแคมป์คนงานที่เกี่ยวเนื่องกันวันที่ 19 มีนาคม จำนวน 593 ราย ผลการตรวจพบติดเชื้อเพิ่มเติม 6 ราย ทั้งนี้ ปัจจัยเสี่ยงคือไซต์คนงานค่อนข้างแออัด ใช้สิ่งของร่วมกัน ห้องสุขา-ห้องอาบน้ำรวม รวมทั้งมีพนักงานบางคนฝ่าฝืนมาตรการบริษัทไปสังสรรค์ในพื้นที่เสี่ยง เมื่อติดเชื้อไม่มีอาการเข้ามาทำให้มีการแพร่เชื้อในแคมป์ต่อ
“จากนี้การสอบสวนควบคุมโรคจะติดตามไปในแคมป์คนงานอื่นๆ เพิ่มเติมว่า ค้นหาปัจจัยเสี่ยงและต้องแก้ไข รวมถึงเฝ้าระวังเชิงรุกในบางจุดมากขึ้น ในภาพรวมถือว่าควบคุมสถานการณ์ได้อย่างรวดเร็ว หากเจอผู้ติดเชื้อเพิ่มคาดว่าจะเจอแบบกระจัดกระจายไม่เป็นกลุ่มก้อนใหญ่ ความระมัดระวังและความร่วมมือขององค์กรและบริษัทมีความสำคัญมาก หากหละหลวมจะทำให้มีความเสี่ยงการติดเชื้อ ซึ่งการระบาดในระลอกใหม่ข้อสังเกตคือมักไม่มีอาการ จึงต้องไม่ประมาท โดยใส่หน้ากาก เว้นระยะห่าง ไม่อยู่ในพื้นที่แออัด” นายแพทย์โอภาสกล่าว
ส่วนกรณีตลาดย่านบางแคพบการติดเชื้อในช่วงเริ่มต้น และดำเนินการสอบสวนควบคุมโรคได้เร็ว ทำให้ไม่มีการกระจายออกไปจำนวนมาก โดยจากการตรวจเชิงรุกในตลาด 4,315 คน พบติดเชื้อ 309 ราย คิดเป็นร้อยละ 8 การค้นหาผู้ป่วยเชิงรุกในชุมชนด้วยรถตรวจเชื้อชีวนิรภัยพระราชทาน จำนวน 6,293 คน พบติดเชื้อ 26 ราย คิดเป็นร้อยละ 0.6 และการตรวจเชิงรุกในชุมชนใกล้เคียง 4,886 คน พบติดเชื้อ 49 ราย คิดเป็นร้อยละ 1 ถือว่าพบการติดเชื้อไม่มาก ได้นำเข้าสู่การรักษาพยาบาล ผู้สัมผัสเสี่ยงสูงดำเนินการกักตัวและตรวจหาเชื้อต่อไป นอกจากนี้ยังได้มีการปิดตลาดเพื่อปรับปรุงสุขาภิบาล ฉีดวัคซีนโควิด 19 ให้ผู้ค้าและแรงงานช่วง 3-4 วันที่ผ่านมาจำนวน 3 พันกว่าราย และการออกบัตรรับรองผลการตรวจโควิดผู้ค้าและคนงานก่อนอนุญาตให้เข้าตลาด ทำให้ควบคุมสถานการณ์ได้อย่างรวดเร็ว ยังคงค้นหาผู้ป่วย ปรับปรุงตลาด และเฝ้าระวังในสถานพยาบาลอีก 1-2 สัปดาห์
นายแพทย์โอภาสกล่าวต่อว่า ความคืบหน้าการฉีดวัคซีนโควิด 19 ในสถานพยาบาล ตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์ – 20 มีนาคม 2564 และรวมกับการออกหน่วยฉีดวัคซีนในชุมชนที่ตลาดบางแค ถือว่าฉีดเกินกว่า 7 หมื่นรายแล้ว ไม่พบผลข้างเคียงรุนแรง เกือบทุกจังหวัดฉีดได้ตามเป้าหมาย 100 เปอร์เซ็นต์ เหลือกรุงเทพมหานครซึ่งมีการปรับแผนออกหน่วยฉีดวัคซีนเชิงรุกเพื่อควบคุมสถานการณ์ คาดว่าจะมีการฉีดวัคซีนได้จำนวนเพิ่มมากขึ้น ส่วนวัคซีนซิโนแวคล็อตใหม่อีก 8 แสนโดส ถือว่าเป็นไปตามแผน โดยองค์การเภสัชกรรมในฐานะผู้นำเข้าได้ตรวจสอบเอกสาร ทั้งความปลอดภัยและคุณภาพการผลิตของโรงงาน จากนั้นส่งวัคซีนไปทดสอบในห้องปฏิบัติการของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ คาดว่าภายในสัปดาห์หน้าจะกระจายวัคซีนไปฉีดประชาชนกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่เป้าหมายที่วางแผนไว้ ทั้งนี้ วัคซีนทั้ง 2 ชนิดที่ประเทศไทยนำมาฉีดถือว่ามีความเหมาะสมกับสถานการณ์และดำเนินการได้ตามแผนที่วางไว้
“ในต่างประเทศมีการฉีดวัคซีนโควิด 19 จำนวนมากแล้ว ยังพบการติดเชื้อรายใหม่ค่อนข้างสูง จนมีการประกาศล็อกดาวน์ใหม่ เนื่องจากการ์ดตกหลังฉีดวัคซีน ดังนั้น ประเทศไทยที่กำลังมีการทยอยฉีดวัคซีนจึงต้องย้ำว่ายังต้องใส่หน้ากาก ล้างมือ และเว้นระยะห่าง เนื่องจากการสร้างภูมิคุ้มกันต้องใช้ระยะเวลา ส่วนกรณีเชื้อโควิดสายพันธุ์แอฟริกาใต้ การกักตัวยังมีความสำคัญ ดังนั้น ผู้ที่เดินทางมาจากประเทศที่มีสายพันธุ์แอฟริกาใต้จำนวนมาก ยังคงให้กักตัว 14 วัน” นายแพทย์โอภาสกล่าว