สสส. ผนึก 5 หน่วยงานภาครัฐ-เอกชน-ประชาสังคม MOU ขยายผลห้องเรียนสู้ฝุ่น 41 โรงเรียนใน จ.เชียงราย พร้อมมอบรางวัลโรงเรียนต้นแบบห้องเรียนสู้ฝุ่น 10 โรง ด้านผู้ว่าฯ เชียงราย ชื่นชม นวัตกรรม “ห้องเรียนสู้ฝุ่น” สสส. ทำให้เด็กรู้ภัยอันตราย PM2.5 สู่การเป็น “พลเมืองใหม่” ส่งต่อ ความรู้สู่ชุมชน ลดวิกฤตฝุ่นควันปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพอย่างยั่งยืน เตรียมขยายครอบคลุมทุก จังหวัดในภาคเหนือ
เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2564 เวลา 10.30 น. ที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย สานักงานกองทุน สนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ 5 หน่วยงาน ได้แก่ องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย ห้างหุ้นส่วนจากัด เติมเต็มวิสาหกิจเพื่อสังคม สภาลมหายใจจังหวัดเชียงราย สมาคมยักษ์ขาว และสมาคม สมัชชาสุขภาพจังหวัดเชียงราย ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการพัฒนาต่อยอดและขยาย ผล “ห้องเรียนสู้ฝุ่นในบทบาทองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและประชาสังคม จังหวัดเชียงราย”
พร้อมมอบรางวัลและเกียรติบัตรแก่โรงเรียนในโครงการห้องเรียนสู้ฝุ่น 10 โรงใน จ.เชียงราย ต้นแบบการ ขับเคลื่อนการแก้ปัญหาวิกฤตฝุ่น PM2.5 อย่างเป็นรูปธรรม ก่อให้เกิดความร่วมมือและเปลี่ยนแปลง ค่านิยมในชุมชน
ว่าที่ร้อยตรีณรงค์ โรจนโสทร รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย กล่าวว่า ในปี 2562 จ.เชียงราย เป็นจังหวัดที่พบจุดความร้อนและพ้ืนที่เผาไหม้น้อยท่ีสุดใน 9 จังหวัดภาคเหนือ จึงไม่ใช้สาเหตุหลักของค่า ฝุ่นในพ้ืนท่ี แต่ด้วยทิศทางลมท่ีพัดฝุ่นควันจากการเผาในพ้ืนท่ีโล่งของประเทศข้างเคียง อย่างเช่น เมียนมา ลาวเข้ามา พร้อมกับสภาพอากาศที่นิ่งและความกดอากาศสูงทาให้เกิดการขังตัวของฝุ่น PM2.5 ช่วงเดือน มกราคม-เดือนเมษายนของทุกปี เป็นช่วงที่วิกฤตท่ีสุดของจังหวัดเชียงราย เพราะมีฝุ่น PM2.5 เกิน มาตรฐาน ทาให้มีผู้ป่วยเข้ารับการรักษาเก่ียวกับระบบทางเดินหายใจ และอาการระคายเคืองตาท่ี โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ เฉลี่ย 2,200 คนต่อวัน โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุ เด็ก และเยาวชน ในพื้นที่ จ.เชียงราย ร่วมกับ สสส. ดาเนินโครงการห้องเรียนสู้ฝุ่น ตั้งแต่ พ.ศ. 2563 มีโรงเรียนระดับชั้น ประถมศึกษาเข้าร่วม 10 โรง “ห้องเรียนสู้ฝุ่น” ถือเป็นนวัตกรรมองค์ความรู้ ท่ีทาให้เด็ก และคนในชุมชน รับมือกับผลกระทบจากฝุ่น PM2.5 ท่ีเกิดจากการเผาในพ้ืนที่โล่งได้ และทางเชียงรายมุ่งสร้าง “พลเมือง ใหม่”ท่สี ามารถสื่อสารสร้างความตระหนักรู้แก่คนในชุมชนถึงผลกระทบต่อสุขภาวะจากฝุ่นPM2.5จนเกิด เป็นการเปล่ียนค่านิยมลดการเผานา-ไร่ในพื้นที่ได้
นางอทิตาธร วันไชยธนวงศ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย กล่าวว่า การลงนาม MOU ครั้งนี้ เป็นการพัฒนาต่อยอดและขยายผลห้องเรียนสู้ฝุ่นในโรงเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาในสังกัด
อบจ.เชียงรายทั้งหมด 41 โรง รวม จ.เชียงรายมี 51 โรง โดยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคการศึกษา ภาคประชาสังคม ร่วมกันสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับ “มลพิษทางอากาศ ฝุ่น ควัน และมลพิษข้ามแดน” โดยการเสริมสร้างทรัพยากรด้านความรู้ พัฒนากลไกการมีส่วนร่วม พัฒนาบุคลากรทางการศึกษาให้มีศักยภาพในการสร้างกิจกรรมเสริมหลักสูตร การเรียนรู้ในโรงเรียน รวมถึง พัฒนาเยาวชน และประชาชนทั่วไปให้สามารถรู้เท่าทันภัยฝุ่น PM2.5 และสื่อสารส่งต่อองค์ความรู้สู้ภัยฝุ่น เพื่อลดผลกระทบต่อสุขภาวะเดก็และประชากรในจังหวัดเชียงรายได้
นายชาติวุฒิ วังวล ผู้อานวยการสานักสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพ สสส. กล่าวว่า ปัญหาฝุ่น PM2.5 ถือเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบรุนแรงต่อสุขภาพของประชาชนโดยเฉพาะในพื้นที่ ภาคเหนือตอนบน สสส. จึงร่วมสานพลังกับภาควิชาการ ภาครัฐ และภาคประชาสังคม ขับเคลื่อนการ ทางานตั้งแต่ระดับพื้นที่ไปจนถึงระดับนโยบายเพื่อเร่งแก้ไขปัญหา มุ่งเน้นสร้างความตระหนักและให้ ความรู้แก่กลุ่มเด็กและเยาวชน ผ่านการเรียนการสอนในโครงการห้องเรียนสู้ฝุ่น ที่ผ่านมา สสส. และภาคี เครือข่ายนำหลักสูตรห้องเรียนสู้ฝุ่นไปใช้ในจังหวัดแพร่ เชียงราย และแม่ฮ่องสอน จำนวน 30 โรง และ เตรียมขยายผลไปยังโรงเรียนจังหวัดอื่น ๆ ภาคเหนือ เพื่อให้เด็กมีค่านิยมและจิตสานึกไม่เผานา เผาไร่ จน เกิดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง และสามารถนาไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้ พร้อมทำหน้าที่ส่งต่อ ข้อมูลให้กับผู้ปกครอง ครอบครัว และชุมชน เพื่อเป็นการสร้างการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน นอกจากนี้
กลุ่มผู้นำชุมชนรวมไปถึงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ให้ความสาคัญขับเคลื่อนนโยบายเพื่อเอื้อต่อ การลดปัญหาฝุ่น PM2.5 อย่างยั่งยืน
ต่อมาเวลา 14.00 น. คณะกรรมการบริหารแผนคณะที่ 2 สสส. นำโดยนายชาญเชาวน์ ไชยานุกิจ รองประธานคณะกรรมการบริหารแผนคณะที่ 2 สสส. พร้อมด้วยนายชาติวุฒิ วังวล ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพ สสส. ลงพื้นที่ศึกษาการ ดำเนินงาน “ห้องเรียนสู้ฝุ่น” สนับสนุนโดย สสส. ที่โรงเรียนบ้านป่าแฝ-หนองอ้อ-สันทรายมูล อ.แม่สาย จ.เชียงราย 1 ใน 10 โรงเรียนต้นแบบห้องเรียนสู้ฝุ่น จ.เชียงราย
โดย ดร.พัชรินทร์ จันทาพูน ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านป่าแฝ-หนองอ้อ-สันทรายมูล กล่าว ว่า โรงเรียนบ้านป่าแฝฯ เคยประสบกับปัญหาฝุ่นควันจนต้องหยุดทำการเรียนการสอน แต่เมื่อได้เข้าร่วม โครงการห้องเรียนสู้ฝุ่นในเดือนตุลาคม 2563 ทางโรงเรียนได้เพิ่มกิจกรรม “ห้องเรียนสู้ฝุ่น” เสริมหลักสูตร การเรียนการสอนแบบบูรณาการ
ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ตลอดระยะเวลา 6 เดือนที่ผ่านมา เด็ก ๆ มีความรู้สามารถอ่านค่าจากเครื่องวัดค่าฝุ่น และติดธงสีต่าง ๆ เพื่อแจ้งเตือนสถานการณ์ 2 ครั้งต่อวัน คือ ในช่วงเช้าและเที่ยง หากแกนนำนักเรียนปักธงสีแดง หมายถึง มีค่าฝุ่น PM2.5 ตั้งแต่ 91 ไมโครกรัมต่อ ลูกบาศก์เมตรขึ้นไป เด็กนักเรียนจะงดกิจกรรมกลางแจ้ง พร้อมกันนี้ยังได้นาความรู้เรื่องการไม่เผานา-ไร่ ส่งต่อยังผู้ปกครอง แนะนำการกาจัดฟางข้าวด้วยการหมักทาปุ๋ยทดแทนการเผา เพื่อป้องกันการเกิดฝุ่น ควันในพื้นที่