บิ๊กตู่ ยันพร้อมเปิดเอกชนนำเข้าวัคซีนโควิด-19 หลังทีมแพทย์ไฟเขียววัคซีนทางเลือก ด้านอนุทิน เผยผลเจรจาวัคซีน ผลิตหลายราย มีเพียงซิโนแวคที่ส่งให้ไทยได้ภายในเดือน พ.ค.
วันที่ 20 เมษายน 2564 ไทยโพสต์ รายงานว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กล่าวถึงกรณีกระแสโซเชียลเรียกร้องให้รับบาลเปิดให้เอกชนนำเข้าวัคซีนโควิด-19 ได้ว่า ที่ผ่านมาตนพยายามทำตามความต้องการของทุกฝ่าย โดยให้กระทรวงสาธารณสุขพิจารณาเรื่องนี้มาโดยตลอด และได้ตั้งคณะกรรมการขึ้นมาอีกคณะหนึ่งที่มี นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร ที่ปรึกษา ศบค. เป็นประธานเพื่อหารือสมาคมโรงพยาบาลเอกชน และผู้รู้ทั้งหลายมาให้ข้อมูลตรงนี้ ว่าจะดำเนินการเรื่องนี้ได้อย่างไรให้วัคซีนทางเลือกเข้ามาในประเทศไทย แต่ทั้งนี้ทางประเทศของบริษัทผู้ผลิตก็ต้องอนุมัติด้วยไม่เช่นนั้นก็ไม่สามารถส่งออกมาได้
วัคซีนมาในช่วงแรก เราจัดซื้อมาในฐานะที่เราสามารถควบคุมการแพร่ระบาดได้ดีมากในระยะที่ 1 เราก็จัดหาวัคซีนมาตามความจำเป็น เพราะมีเรื่องของความเสี่ยงเนื่องจากวัคซีนเหล่านั้นยังไม่ได้รับการพิสูจน์ทราบ วันนี้เมื่อมีความชัดเจนแล้วก็จะมีการเปิดช่องทางให้หลาย ๆ ยี่ห้อได้เข้ามาเสนอความต้องการจะขายวัคซีนให้ ไม่เกี่ยวกับเรื่องของการจองช้าหรือช้าเกินไป จำนวนน้อยเกินไป
ส่วนเรื่องการฉีดวัคซีนได้เร่งรัดให้มีการฉีดให้เร็วที่สุดในโควตาที่ให้ไป ให้ประชาชนเข้ามามีส่วนรับบริการวัคซีนให้ทั่วถึงตามกำหนดความเร่งด่วนออกไปในขณะนี้ของกระทรวงสาธารณสุข วันนี้ผมเร่งรัดในครม.ไปแล้ว ให้ทุกจังหวัด ให้ กทม. เร่งฉีดวัคซีนที่ได้รับไปให้เร็วที่สุด จำนวนมากที่สุดที่ได้ไปจนครบ และรัฐบาลก็เตรียมวัคซีนสำรองตรงนี้ไว้อีกด้วยในระยะต่อๆไปเพื่อให้ทั่วถึง เกิดภูมิคุ้มกันหมู่ให้ได้
ด้านไทยพีบีเอส รายงานว่า นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.สาธารณสุข กล่าวว่า ขณะนี้รัฐบาลมีความพยายามหารือกับผู้ผลิตหลายรายเพื่อจัดซื้อวัคซีนโควิด-19 แต่ไม่มีบริษัทใดยืนยันถึงการผลิต และจัดส่งวัคซีนให้ได้ภายในพฤษภาคม 2564 โดยขณะนี้มีเพียงบริษัทซิโนแวค ที่จะส่งให้ได้ในเดือน พฤษภาคม และบริษัทแอสตราเซเนกา ที่ผลิตในประเทศไทย เท่านั้น ที่สามารถผลิตและจัดส่งวัคซีนให้ได้มิถุนายนตามสัญญา พร้อมเตรียมขออนุมัติขยายไซต์การผลิตให้เพิ่มมากขึ้นอีกด้วย ซึ่งทุกอย่างทำตามมาตรฐานและแผนที่วางไว้
ส่วนปัญหาการบริหารจัดการเตียง ให้ผู้ป่วยโควิด ได้เข้าระบบ และรับการรักษาทุกคนนั้น ยอมรับว่า ปัญหาการบริการจัดการใน กทม.ยากและซับซ้อน เพราะเป็นเมืองใหญ่ ไม่เหมือนต่างจังหวัดที่มี อสม.คอยช่วยเหลือ ยืนยันว่าผู้ป่วยติดเชื้อทุกคนต้องได้พบแพทย์ โดยเรื่องนี้กรมการแพทย์รับเป็นผู้ดำเนินการ และจัดคิวการรับบริการผู้ป่วยแบ่งเป็น สีเขียว เหลือง แดง คนที่ป่วยต้องอยู่ในโรงพยาบาล คนที่มีอาการไม่รุนแรงเล็กน้อยอยู่ในโรงพยาบาลสนาม
ขอบคุณข้อมูลจาก ไทยโพสต์, ไทยพีบีเอส kapook.com
วันที่ 20 เมษายน 2564 ไทยโพสต์ รายงานว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กล่าวถึงกรณีกระแสโซเชียลเรียกร้องให้รับบาลเปิดให้เอกชนนำเข้าวัคซีนโควิด-19 ได้ว่า ที่ผ่านมาตนพยายามทำตามความต้องการของทุกฝ่าย โดยให้กระทรวงสาธารณสุขพิจารณาเรื่องนี้มาโดยตลอด และได้ตั้งคณะกรรมการขึ้นมาอีกคณะหนึ่งที่มี นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร ที่ปรึกษา ศบค. เป็นประธานเพื่อหารือสมาคมโรงพยาบาลเอกชน และผู้รู้ทั้งหลายมาให้ข้อมูลตรงนี้ ว่าจะดำเนินการเรื่องนี้ได้อย่างไรให้วัคซีนทางเลือกเข้ามาในประเทศไทย แต่ทั้งนี้ทางประเทศของบริษัทผู้ผลิตก็ต้องอนุมัติด้วยไม่เช่นนั้นก็ไม่สามารถส่งออกมาได้
วัคซีนมาในช่วงแรก เราจัดซื้อมาในฐานะที่เราสามารถควบคุมการแพร่ระบาดได้ดีมากในระยะที่ 1 เราก็จัดหาวัคซีนมาตามความจำเป็น เพราะมีเรื่องของความเสี่ยงเนื่องจากวัคซีนเหล่านั้นยังไม่ได้รับการพิสูจน์ทราบ วันนี้เมื่อมีความชัดเจนแล้วก็จะมีการเปิดช่องทางให้หลาย ๆ ยี่ห้อได้เข้ามาเสนอความต้องการจะขายวัคซีนให้ ไม่เกี่ยวกับเรื่องของการจองช้าหรือช้าเกินไป จำนวนน้อยเกินไป
ส่วนเรื่องการฉีดวัคซีนได้เร่งรัดให้มีการฉีดให้เร็วที่สุดในโควตาที่ให้ไป ให้ประชาชนเข้ามามีส่วนรับบริการวัคซีนให้ทั่วถึงตามกำหนดความเร่งด่วนออกไปในขณะนี้ของกระทรวงสาธารณสุข วันนี้ผมเร่งรัดในครม.ไปแล้ว ให้ทุกจังหวัด ให้ กทม. เร่งฉีดวัคซีนที่ได้รับไปให้เร็วที่สุด จำนวนมากที่สุดที่ได้ไปจนครบ และรัฐบาลก็เตรียมวัคซีนสำรองตรงนี้ไว้อีกด้วยในระยะต่อๆไปเพื่อให้ทั่วถึง เกิดภูมิคุ้มกันหมู่ให้ได้
ด้านไทยพีบีเอส รายงานว่า นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.สาธารณสุข กล่าวว่า ขณะนี้รัฐบาลมีความพยายามหารือกับผู้ผลิตหลายรายเพื่อจัดซื้อวัคซีนโควิด-19 แต่ไม่มีบริษัทใดยืนยันถึงการผลิต และจัดส่งวัคซีนให้ได้ภายในพฤษภาคม 2564 โดยขณะนี้มีเพียงบริษัทซิโนแวค ที่จะส่งให้ได้ในเดือน พฤษภาคม และบริษัทแอสตราเซเนกา ที่ผลิตในประเทศไทย เท่านั้น ที่สามารถผลิตและจัดส่งวัคซีนให้ได้มิถุนายนตามสัญญา พร้อมเตรียมขออนุมัติขยายไซต์การผลิตให้เพิ่มมากขึ้นอีกด้วย ซึ่งทุกอย่างทำตามมาตรฐานและแผนที่วางไว้
ส่วนปัญหาการบริหารจัดการเตียง ให้ผู้ป่วยโควิด ได้เข้าระบบ และรับการรักษาทุกคนนั้น ยอมรับว่า ปัญหาการบริการจัดการใน กทม.ยากและซับซ้อน เพราะเป็นเมืองใหญ่ ไม่เหมือนต่างจังหวัดที่มี อสม.คอยช่วยเหลือ ยืนยันว่าผู้ป่วยติดเชื้อทุกคนต้องได้พบแพทย์ โดยเรื่องนี้กรมการแพทย์รับเป็นผู้ดำเนินการ และจัดคิวการรับบริการผู้ป่วยแบ่งเป็น สีเขียว เหลือง แดง คนที่ป่วยต้องอยู่ในโรงพยาบาล คนที่มีอาการไม่รุนแรงเล็กน้อยอยู่ในโรงพยาบาลสนาม
>> อ่านข้อมูลและติดตามสถานการณ์ COVID-19 << ได้ที่นี่
ขอบคุณข้อมูลจาก ไทยโพสต์, ไทยพีบีเอส kapook.com